Close
  • TH
  • |
  • EN
  • Facebook
  • Youtube
  • CSR

  • Close
  • EN
  • Facebook
  • Youtube
  • ESG
  • หน้าหลัก
  • บทวิเคราะห์
  • บริการ
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • Trinity Academy
  • Trinity Member
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • เปิดบัญชี
  • Trinity
    Member
  • ดาวน์โหลด
  • Suitability

INSIGHT TO INVEST

เข้าใจลึกซึ้ง เข้าถึงทุกการลงทุน

  1. หน้าแรก
  2. แหล่งความรู้
  3. หุ้นกู้
  • หลักทรัพย์ & อนุพันธ์
  • หุ้นกู้
  • ลงทุนในเวียดนาม
  • คริปโทเคอร์เรนซี่
  • ทองคำ
  • บทความการลงทุน
  • อธิบายคำศัพท์
  • ความรู้เรื่องหุ้นกู้

  • หุ้นกู้คืออะไร
  • ประโยชน์จากการลงทุนในหุ้นกู้
  • คุณสมบัติพื้นฐานของหุ้นกู้
  • ความเสี่ยงของหู้นกู้
  • รู้จักกับผลตอบแทน (Yield)
  • สิทธิในการไถ่ถอนก่อนกำหนด
  • เงื่อนไขการค้ำประกัน (Collateralization)
  • กองทุนรวมตราสารหนี้
  • ภาษีจากการลงทุนในหุ้นกู้
  • ข้อมูลพื้นฐานอื่นๆ ที่ควรรู้
  • หุ้นกู้ "ทรีนีตี้ วัฒนา"

  • Trinity Asian Private Fund

  • หุ้น IPO

  • หุ้นกู้ที่ออกโดย "ทรีนีตี้"

  • ความรู้เรื่องหุ้นกู้

  • หุ้นกู้คืออะไร
  • ประโยชน์จากการลงทุนในหุ้นกู้
  • คุณสมบัติพื้นฐานของหุ้นกู้
  • ความเสี่ยงของหู้นกู้
  • รู้จักกับผลตอบแทน (Yield)
  • สิทธิในการไถ่ถอนก่อนกำหนด
  • เงื่อนไขการค้ำประกัน (Collateralization)
  • กองทุนรวมตราสารหนี้
  • ภาษีจากการลงทุนในหุ้นกู้
  • ข้อมูลพื้นฐานอื่นๆ ที่ควรรู้

ความเสี่ยงในการลงทุนในหุ้นกู้


ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย

หุ้นกู้เหมือนตราสารหนี้ทั่วไป ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์รัชะหว่างการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าของหุ้นกู้กับการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด กล่าวคือหุ้นกู้จะมีมูลค่าจะสูงขึ้นเมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง และจะมีมูลค่าน้อยลงเมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น โดยปัจจัยเรื่องอายุคงเหลือของหุ้นกู้ก็มีส่วนกระทบในเรื่องความผันผวนของราคา

โดยที่หุ้นกู้ที่มีอายุคงเหลือยาวก็มีโอกาสที่จะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของราคามากกว่าหุ้นกู้ที่มีอายุคงเหลือน้อยกว่า แต่ถ้าท่านตั้งใจจะถือหุ้นกู้จนถึงวันหมดอายุ ท่านก็อาจจะไม่ต้องกังวลกับเรื่อง ผลกระทบจากความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมากนัก เนื่องจากท่านจะได้รับเงินต้นคืน ครบตามราคาที่ระบุหน้าตั๋ว เมื่อถึงวันครบหมดอายุ

นักลงทุนหลายคนอาจจะยังสับสนในความสัมพันธ์ที่แปรผกผัน ระหว่างมูลค่าของตราสารหนี้ และอัตราดอกเบี้ยโดยโดยความสัมพันธ์ดังกล่าว สามารถอธิบายได้ ดังนี้

- เมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น

หุ้นกู้หรือตราสารหนี้ที่จะออกใหม่ในขณะนั้นย่อมต้องกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยในตลาด ซึ่งหมายความว่า อัตราผลตอบแทนใหม่นี้จะต้องสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของหุ้นกู้ หรือตราสารหนี้รุ่นที่ออกมาก่อนหน้านั้น ดังนั้นนักลงทุนที่จะซื้อหุ้นกู้หรือตราสารหนี้รุ่นก่อนๆ ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ ต่ำว่าอัตราดอกเบี้ยตลาดในปัจจุบัน ก็ควรจะซื้อในมูลค่าที่ลดน้อยลงหรือซื้อในราคาที่ลดลง

- เมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดปรับตัวลดลง

หุ้นกู้หรือตราสารหนี้ที่จะออกใหม่ในขณะนั้น ย่อมจะต้องกำหนดอัตราผลตอบแทนที่ลดลงตามอัตราดอกเบี้ยในตลาด อัตราผลตอบแทนที่ว่านี้ ก็จะต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนของหุ้นกู้หรือตราสารหนี้รุ่นที่ออกมาก่อนหน้านั้น ดังนั้น นักลงทุนที่จะขายหุ้นหรือตราสารหนี้รุ่นก่อนๆ ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยตลาดในปัจจุบัน ก็ควรจะขายในมูลค่าที่สูงขึ้นหรือขายในราคาที่สูงขึ้น


ผลที่ตามมาก็คือ ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม หุ้นกู้หรือพันธบัตร ต่างก็มีความเสี่ยงของอัตราดอกเบี้ยทั้งสิ้น เมื่อท่านนักลงทุนทำการซื้อขายกันก่อนหมดอายุ โดยราคาที่ขายได้อาจมากหรือน้อยกว่าราคากว่าราคาที่ซื้อมา ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระดับและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจอีกที โดยทั่วไปอัตราดอกเบี้ยมักจะปรับตัวขึ้นเมื่อเศรษฐกิจขยายตัว  และปรับตัวลดลงเมื่อเศรษฐกิจชะลอตัว และปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่มีผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยก็คือ อัตราเงินเฟ้อ

เมื่อระดับของอัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลทำให้รัฐบาล ดำเนินนโยบายปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ในขณะที่ถ้าอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ต่ำ มักนำไปสู่การลดต่ำลงของอัตราดอกเบี้ยด้วย

จะเห็นได้ว่า ถ้าหากท่านลงทุนในหุ้นกู้ที่จ่ายอัตราดอกเบี้ยคงที่ ท่านจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงดอกเบี้ยคงที่ ท่านจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงในการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย แต่ท่านอาจลดความเสี่ยงนี้ได้ เมื่อลงทุนในหุ้นกู้ที่จ่ายอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยจะผันแปรไปตามเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาด


ความเสี่ยงด้านเครดิต

อันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating)

เมื่อท่านตัดสินใจที่จะลงทุนในหุ้นกู้ใดๆ ท่านจะต้องพิจารณาถึงความสามารถในการชำระหนี้คืน ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยหรือเงินต้นของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้ โดยต้องชำระครบถ้วนและตรงต่อเวลาที่กำหนด ความสามารถดังกล่าวสามารถพิจารณาได้จากอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้

สถาบันที่ทำหน้าที่จัดอันดับดังกล่าวมีอยู่ด้วยกันหลายแห่ง ได้แก่ Standard & Poor's, Moody's investors service, Fitch IBCA เป็นต้น สำหรับในประเทศไทย ปัจจุบันมีจำนวน 2 แห่ง คือ บริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด (Thai Rating and Information Services Co.,Ltd. : TRIS) และ บริษัท ฟิทช์ เรทติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด (Fitch Rating (Thailand) Limited)


อันดับความน่าเชื่อถือจะแบ่งเป็นหลายระดับ โดยทั่วไป หุ้นกู้ที่จัดอยู่ในกลุ่มลงทุนได้ (Investment Grade) จะได้รับระดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ BBB หรือ Baa

สำหรับหุ้นกู้ในประเทศไทย สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนดให้ออกหุ้นกู้ใหม่ ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไปไม่ว่าจะเสนอขายต่อผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือผู้ลงทุนสถาบันก็ตามต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือโดยเริ่มตั้งแต่เมษายน 2543


ตารางต่อไปนี้เป็นคำนิยามเบื้องต้นของอันดับความน่าเชื่อถือที่จัดโดย TRIS และ FITCH (Thailand)


หุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงสูง (High - yield - bonds)  

ในตลาดสากลและในประเทศไทย หุ้นกู้ที่ได้รับอันดับความน่าเชื่อถือในระดับ BB / Ba หรือต่ำกว่า จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงสูง ที่เรียกว่า "High Yield Bond" หรือ "Junk Bond" หุ้นกู้ประเภทนี้จะให้อัตราผลตอบแทนในระดับที่สูง เพื่อชดเชยกับความเสี่ยงที่สูงเช่นกัน

เนื่องจากผู้ออกหุ้นกู้ประเภทนี้ มักจะอยู่ในสถานะที่ยังไม่มีความมั่นคงมากนัก และอาจอยู่ในธุรกิจมีความผันผวนสูง โดยอาจจะเป็นบริษัทที่เพิ่งจัดตั้งใหม่ หรืออาจจะกำลังประสบปัญหาทางการเงิน หรือาจจะเป็นบริษัทที่มีการเติโตอย่างไม่แน่นอนผันผวนไปตามเงื่อนไขของตลาด หรือเป็นบริษัทที่นิยมดำเนินนโยบายอย่างโลดโผน หุ้นกู้ประเภทนี้เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนสูงและสามารถนรับได้ต่อความเสี่ยงจากการลงทุนที่ค่อนข้างสูง


ความเสี่ยงจากสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง (Event Risk)  

จากสถานการณ์ที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรงมากขึ้นในภาคเอกชน ทำให้ผู้บริหารของบริษัทต่างๆ พยายามที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ถือหุ้นโดยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืม การปรับโครงสร้างบริษัท การควบรวมกิจการหรือการเพิ่มทุน ทั้งนี้ สถานการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการเพิ่มภาระหนี้สินของบริษัทอย่างปัจจุบันทันด่วน ซึ่งมีผลในเชิงลบต่อมูลค่าหุ้นกู้

ถึงแม้ว่าผู้ออกหุ้นกู้บางรายอาจมีข้อกำหนดเพื่อปกป้องสิทธิของผู้ถือหุ้นกู้แล้วก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถครอบคลุมได้ในทุกๆ กรณี ผู้ถือหุ้นกู้จึงต้องรับความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น ผู้ลงทุนควรให้ความสำคัญต่อบทวิจัยและข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะข้อมูลจากบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ซึ่งจะช่วยให้สามารถวิเคราะห์ถึงความเสี่ยงต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในตลาดก่อนการตัดสินใจลงทุน


 

Trinity Academy

ห้องเรียนการลงทุนอย่างมืออาชีพ

ลงทุนหุ้นจีนผ่าน DRx ง่ายนิดเดียว!

ความรู้การลงทุนหุ้น อนุพันธ์ และสินทรัพย์อื่นๆ

บทความการลงทุน

สอบถามข้อมูลทั่วไป

0-2088-9100

สอบถามข้อมูลซื้อขายหลักทรัพย์

0-2343-9555

e-mail

trinity@trinitythai.com

Shortcut Menu

หน้าหลัก

บทวิเคราะห์

  • บทวิเคราะห์ล่าสุด
  • ปัจจัยทางเทคนิค
  • ปัจจัยพื้นฐาน
  • บทวิเคราะห์รายหลักทรัพย์
  • บทวิเคราะห์ราย Sector
  • Trinity Quick Win

ประกาศและข่าวสาร

  • ประกาศ
  • ประกาศทั่วไป
  • ข้อมูลเกี่ยวกับซื้อขายทางอินเทอร์เน็ต
  • ปฏิทินหลักทรัพย์

ข้อมูลนักลงทุน

  • เจาะเทรนด์ลงทุน
  • กลยุทธ์การลงทุน
  • ความรู้การลงทุน
  • กลยุทธ์ทางเทคนิค
  • สัมมนา
  • เจาะเทรนด์ลงทุน
  • บทความการลงทุน

ข้อมูลสมาชิก

ติดต่อเรา

  • นโยบายการใช้คุ้กกี้
  • การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • Home
  • Ask a Question
  • Contact Us
  • FAQs

Copyright 2025 All right reserved. Trinity Securities Group.

บริษัทฯ มีการใช้งานคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของคุณกรุณากด ยอมรับ เพื่อยินยอมให้บริษัทฯ ใช้คุกกี้ คุณสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้