Close
  • TH
  • |
  • EN
  • Facebook
  • Youtube
  • CSR

  • Close
  • EN
  • Facebook
  • Youtube
  • ESG
  • หน้าหลัก
  • บทวิเคราะห์
  • บริการ
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • Trinity Academy
  • Trinity Member
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • เปิดบัญชี
  • Trinity
    Member
  • ดาวน์โหลด
  • Suitability

INSIGHT TO INVEST

เข้าใจลึกซึ้ง เข้าถึงทุกการลงทุน

  1. หน้าแรก
  2. แหล่งความรู้
  3. อธิบายคำศัพท์
  • หลักทรัพย์ & อนุพันธ์
  • หุ้นกู้
  • ลงทุนในเวียดนาม
  • คริปโทเคอร์เรนซี่
  • ทองคำ
  • บทความการลงทุน
  • อธิบายคำศัพท์
  • ตัวอักษร

  • A
  • B
  • C
  • D
  • E
  • F
  • G
  • H
  • I
  • L
  • M
  • N
  • O
  • P
  • Q
  • R
  • S
  • T
  • U
  • V
  • W
  • X
  • ตัวอักษร

  • A
  • B
  • C
  • D
  • E
  • F
  • G
  • H
  • I
  • L
  • M
  • N
  • O
  • P
  • Q
  • R
  • S
  • T
  • U
  • V
  • W
  • X

ด้านหลักทรัพย์


Main Board กระดานหลัก


Main Board กระดานหลัก : กระดานซื้อขายสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีปริมาณตามหน่วยซื้อขาย (Board Lot ) หรือ มากกว่า ในปริมาณที่เป็นทวีคูณของ 1 Board Lot เช่น 2, 3, 4......Board Lots เป็นต้น
 

 

Maintenance Margin Rate อัตรามาร์จินที่ต้องดำรงไว้ 


Maintenance Margin Rate อัตรามาร์จินที่ต้องดำรงไว้ : อัตราที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดไว้เป็นเกณฑ์บังคับว่า มูลค่าหลักประกันของลูกค้า (Margin) ที่วางไว้กับบริษัทหลักทรัพย์เมื่อเทียบกับมูลค่าหลักทรัพย์ที่ซื้อด้วยเงินกู้ ( หรือที่ขายชอร์ต ) ไว้จะต้องเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตรา Maintenance Margin Rate ที่เป็นเกณฑ์บังคับนี้

 

Manipulation การปั่นหุ้น 


Manipulation การปั่นหุ้น : การซื้อขายหลักทรัพย์ใดๆ โดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเพื่อสร้างสภาพการซื้อขายให้ผิดไปจากภาวะที่ เป็นจริง โดยเจตนาให้ผู้อื่นซื้อหรือขายหลักทรัพย์ด้วยความเข้าใจผิด การกระทำดังกล่าวนี้ถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ . ศ . 2535 ซึ่งมีบทกำหนดโทษไว้ด้วย
 

 

Margin หลักประกันของลูกค้า


Margin หลักประกันของลูกค้า : จำนวนเงินหรือทรัพย์สินที่ลูกค้าวางไว้กับบริษัทหลักทรัพย์เพื่อการซื้อหุ้นโดยใช้สินเชื่อหรือเพื่อการขายชอร์ตกับบริษัทหลักทรัพย์นั้น ตลาดหลักทรัพย์จะกำหนดอัตราขั้นต่ำที่ลูกค้าต้องวางหลักประกันไว้เรียกว่า Initial Margin Rate เช่น ร้อยละ 50 ของมูลค่าหุ้นที่ซื้อหรือขายชอร์ต เป็นต้น

 

Margin Account บัญชีซื้อขายหุ้นโดยวางหลักประกัน


Margin Account บัญชีซื้อขายหุ้นโดยวางหลักประกัน : บัญชีซื้อขายหุ้นที่ลูกค้าขอเปิดไว้กับบริษัทหลักทรัพย์เพื่อการซื้อหุ้นโดยใช้สินเชื่อจากบริษัทนั้น และ / หรือ เพื่อการ Short Sell ในการเปิด Margin Account ลูกค้าจะต้องนำเงินหรือหลักทรัพย์จำนวนหนึ่งมาวางไว้กับบริษัทนายหน้าเพื่อเป็นหลักประกัน ทั้งนี้ มูลค่าของหลักประกันที่นำมาวางเมื่อเทียบกับวงเงินที่จะซื้อหุ้นหรือที่จะขายชอร์ตจะต้องไม่ต่ำกว่า Initial Margin Rate ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
 

 

Market Capitalization มูลค่าตามราคาตลาด


Market Capitalization มูลค่าตามราคาตลาด : มูลค่าโดยรวมของหุ้นสามัญของบริษัทใดๆ ที่คำนวณขึ้นโดยใช้ราคาตลาดของหุ้นนั้นคูณกับจำนวนหุ้นสามัญจดทะเบียนทั้งหมดของบริษัทดังกล่าว

 

Market for Alternative Investment (MAI)  ตลาดหลักทรัพย์ใหม่ 


Market for Alternative Investment (MAI) ตลาดหลักทรัพย์ใหม่ : ตลาดที่ได้รับการจัดตั้งขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นแหล่งระดมทุนให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นอุตสาหกรรมส่งออก อุตสาหกรรมที่รัฐบาลมุ่งให้การส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ หรืออุตสาหกรรมการผลิตที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดี
 

 

Market Price Order การเสนอซื้อขาย ณ ราคาตลาด


Market Price Order การเสนอซื้อขาย ณ ราคาตลาด : การเสนอซื้อขาย ณ ราคาตลาด โดยทำการเสนอซื้อ ณ ราคาเสนอขายต่ำสุด หรือเสนอขาย ณ ราคาเสนอซื้อสูงสุดที่ปรากฏบนกระดาน

 

Money Market ตลาดเงิน


Money Market ตลาดเงิน : ตลาดที่มีการระดมเงินทุนและการให้สินเชื่อระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี การโอนเงิน การซื้อขายหลักทรัพย์ทางการเงินที่มีอายุการไถ่ถอนระยะสั้น เช่น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินและตั๋วเงินคลัง เป็นต้น เป็นที่รวมกลไกทั้งหลายที่ทำให้การหมุนเวียนของเงินทุนระยะสั้นเป็นไปด้วยดี อันได้แก่ การจัดหาเงินทุนเพื่อการประกอบการของธุรกิจ การให้สินเชื่อแก่บุคคลและการจัดหาเงินทุนระยะสั้นให้แก่ภาครัฐบาล
 

 

Mutual Fund กองทุนรวม 


Mutual Fund กองทุนรวม : โครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นและบริหารโดยบริษัทจัดการลงทุน ในการจัดตั้งกองทุนรวมแต่ละกอง บริษัทจัดการลงทุนจะออกหน่วยลงทุน (Unit Trusts) เสนอขายแก่ผู้ลงทุนทั่วไป เพื่อระดมเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารการเงินประเภทต่างๆ ตามนโยบายการลงทุนที่กำหนดระบุไว้ในการขออนุญาต จัดตั้งกองทุนรวม


ด้านอนุพันธ์


 

Maintenance Margin เงินประกันขั้นต่ำ 


Maintenance Margin เงินประกันขั้นต่ำ : ยอดคงเหลือขั้นต่ำของเงินประกันที่สำนักหักบัญชีหรือโบรกเกอร์กำหนดให้ต้องดำรงอยู่ในบัญชีเงินประกันของผู้ลงทุน ถ้ายอดคงเหลือตกลงต่ำกว่าระดับนี้ สำนักหักบัญชีหรือโบรกเกอร์จะเรียกผู้ลงทุนให้วางเงินประกันเพิ่ม เพื่อทำให้ดุลบัญชีมาร์จิ้นกลับมาอยู่ที่ระดับของเงินประกันขั้นต้น (Initial Margin)

 

 

Margin เงินประกัน


Margin เงินประกัน : เงินประกันที่ผู้ซื้อและผู้ขายสัญญาฟิวเจอร์สต้องวางไว้กับสำนักหักบัญชีหรือโบรกเกอร์เพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้ซื้อและผู้ขายจะไม่บิดพลิ้วจากการปฏิบัติตามภาระผูกพันของสัญญา หลังผู้ซื้อและผู้ขายทำการปิดสถานะในสัญญาและรับรู้กำไรขาดทุนแล้ว สำนักหักบัญชีหรือโบรกเกอร์จะคืนยอดเงินคงเหลือในบัญชีมาร์จิ้นให้ผู้ลงทุน

 

Margin Call  การเรียกเงินประกันเพิ่ม 


Margin Call การเรียกเงินประกันเพิ่ม : การที่สำนักหักบัญชีหรือโบรกเกอร์เรียกให้ผู้ลงทุนนำเงินประกันมาวางเพิ่ม เนื่องจากยอดเงินคงเหลือในบัญชีมีระดับต่ำกว่าเงินประกันขั้นต่ำ (Maintenance Margin) ที่กำหนดไว้

 


Market Maker ผู้ดูแลสภาพคล่องการซื้อขาย 


Market Maker ผู้ดูแลสภาพคล่องการซื้อขาย : ดูแลสภาพคล่องการซื้อขายเป็นผู้ที่มีหน้าที่ส่งคำสั่งเสนอซื้อหรือเสนอขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ตนได้รับมอบหมายตามภาระหน้าที่ที่กำหนดไว้ในข้อตกลงกับตลาดอนุพันธ์ เพื่อตอบสนองความประสงค์ของผู้ที่ต้องการซื้อหรือขายได้อย่างต่อเนื่อง ช่วยให้เกิดสภาพคล่องในการซื้อขายในตลาดอนุพันธ์

 

Market Order


Market Order : คำสั่งซื้อขายที่ไม่ระบุราคาที่ต้องการซื้อหรือขาย แต่ต้องการให้คำสั่งที่ส่งเข้าไปได้รับการจับคู่ ณ ราคาที่ดีที่สุดในขณะนั้น
 

 

Mark-to-Market  การปรับมูลค่าให้เป็นไปตามราคาตลาด 


Mark-to-Market การปรับมูลค่าให้เป็นไปตามตลาด : กระบวนการที่สำนักหักบัญชีหรือโบรกเกอร์ใช้เพื่อปรับสถานะในสัญญาฟิวเจอร์สของผู้ลงทุนให้สะท้อนกับการเปลี่ยนแปลงของราคาฟิวเจอร์สในแต่ละวัน โดยสำนักหักบัญชีจะคำนวณส่วนต่างของราคาตลาดของสินทรัพย์อ้างอิงของฟิวเจอร์สในวันนั้นๆ เทียบกับราคาฟิวเจอร์สตามบัญชีของผู้ลงทุน โดยหากในวันนั้นๆ เกิดกำไรขึ้น จะมีการโอนเงินกำไรที่เกิดขึ้นเข้าบัญชีของผู้ลงทุน และหากเกิดขาดทุนขึ้น เงินจะถูกหักออกจากบัญชีของผู้ลงทุนเช่นกัน ทำให้บัญชีของผู้ลงทุนมีการปรับสถานะให้ตรงตามราคาตลาดทุกวัน

 

Multiplier ตัวคูณดัชนี


Multiplier ตัวคูณดัชนี : ตัวเลขที่ตลาดอนุพันธ์กำหนดขึ้นมาใช้แปลงตัวเลขดัชนีหุ้นให้เป็นจำนวนเงินเพื่อใช้ในการกำหนดมูลค่าของสัญญา เช่น SET50 Index Futures กำหนดให้ตัวคูณดัชนีเท่ากับ 1,000 บาท ต้องเราซื้อ SET50 Index Futures ที่ราคา 500 จุด หมายความว่ามูลค่าสัญญาเท่ากับ 500 x 1,000 = 500,000 บาท


 

Trinity Academy

ห้องเรียนการลงทุนอย่างมืออาชีพ

ลงทุนหุ้นจีนผ่าน DRx ง่ายนิดเดียว!

ความรู้การลงทุนหุ้น อนุพันธ์ และสินทรัพย์อื่นๆ

บทความการลงทุน

สอบถามข้อมูลทั่วไป

0-2088-9100

สอบถามข้อมูลซื้อขายหลักทรัพย์

0-2343-9555

e-mail

trinity@trinitythai.com

Shortcut Menu

หน้าหลัก

บทวิเคราะห์

  • บทวิเคราะห์ล่าสุด
  • ปัจจัยทางเทคนิค
  • ปัจจัยพื้นฐาน
  • บทวิเคราะห์รายหลักทรัพย์
  • บทวิเคราะห์ราย Sector
  • Trinity Quick Win

ประกาศและข่าวสาร

  • ประกาศ
  • ประกาศทั่วไป
  • ข้อมูลเกี่ยวกับซื้อขายทางอินเทอร์เน็ต
  • ปฏิทินหลักทรัพย์

ข้อมูลนักลงทุน

  • เจาะเทรนด์ลงทุน
  • กลยุทธ์การลงทุน
  • ความรู้การลงทุน
  • กลยุทธ์ทางเทคนิค
  • สัมมนา
  • เจาะเทรนด์ลงทุน
  • บทความการลงทุน

ข้อมูลสมาชิก

ติดต่อเรา

  • นโยบายการใช้คุ้กกี้
  • การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • Home
  • Ask a Question
  • Contact Us
  • FAQs

Copyright 2025 All right reserved. Trinity Securities Group.

บริษัทฯ มีการใช้งานคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของคุณกรุณากด ยอมรับ เพื่อยินยอมให้บริษัทฯ ใช้คุกกี้ คุณสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้