Web 3.0 คืออะไร และมีความสำคัญขนาดไหนกับการทำงานร่วมกันกับเทคโนโลยี Blockchain
Web 3.0
อินเทอร์เน็ตถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดในชีวิตแทบทุกคนบนโลกใบนี้ เป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงชีวิตที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต ซึ่งการระบาดใหญ่ของไวรัส COVID-19 ทั่วโลก ได้พิสูจน์แล้วว่าอินเทอร์เน็ตนั้นมีความสำคัญมากขนาดไหน
ซึ่งอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่มีการพัฒนาและเติบโตอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยที่เราจะต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีใหม่ๆ ในปัจจุบันนี้อินเทอร์เน็ตที่เราใช้อยู่กำลังจะกลายเป็นจุดสิ้นสุดของ Web 2.0 และกำลังจะเป็นจุดเริ่มต้นสู่ Web 3.0 ที่ถูกกระตุ้นโดยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี Blockchain
ก่อนที่จะไปรู้จักกับ Web 3.0 เราจะมาย้อนอดีตเส้นทางกว่าจะมาเป็น Web 3.0 ที่เป็นอินเทอร์เน็ต 2 รูปแบบที่แตกต่างกันที่นำเอาข้อเสียมาพัฒนาต่อเพื่อเทคโนโลยีที่ดีกว่าเดิม ได้แก่ Web 1.0 และ Web 2.0 โดยย้อนไปในปี พ.ศ.2523 ซึ่งเป็นยุคเริ่มต้นของ Web 1.0 ที่เกิดจากการพัฒนาของทีมงานเพียงไม่กี่คน ถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญช่วงหนึ่ง สำหรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีที่สำคัญ ที่ถึงแม้ว่าผู้คนจะสามารถใช้งานได้จากทั่วทุกมุมโลก แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของการอ่านข้อความได้เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถโต้ตอบกันไปมาได้
ต่อจากนั้นโลกก็ได้เห็นการพัฒนาและเติบโตมาสู่ Web 2.0 ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงที่สำคัญในการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งานและการโต้ตอบ ที่ Web 2.0 อนุญาตให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างบัญชีผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ได้ ที่ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวบนอินเทอร์เน็ต ด้วยเหตุนี้แพลตฟอร์ม E-Commerce และโซเชียลมีเดียต่างๆ จึงเริ่มทำการสำรวจโอกาสใหม่ๆ ในการเข้าถึงผู้ชมที่เป็นวงกว้างมากขึ้น ซึ่งการมาของ Web 2.0 ยังสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี Web ที่เข้ามาปฏิวัติวงการ เช่น Hypertext Markup Language 5 (HTML5), Cascading Style Sheets 3 (CSS3) หรือ JavaScript
Web 3.0 คืออะไร
Web 3.0 เป็นบริการอินเทอร์เน็ตรุ่นที่ 3 ซึ่งให้บริการเว็บไซต์และแอปพลิเคชันที่มีเทคโนโลยีในการทำงานที่ถูกตั้งค่าให้ขับเคลื่อนโดย AI และแอปพลิเคชันแบบ P2P (Peer to Peer) เช่น Blockchain ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง Web 2.0 และ Web 3.0 คือ Web 3.0 ให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรม เช่น การเรียนรู้ของเครื่องและ AI เพื่อสร้างเนื้อหาที่มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้นสำหรับผู้ใช้งานแต่ละราย และมีความปลอดภัยมากกว่ารุ่นก่อนหน้าที่เคยมีมา แต่ปัญหาที่สำคัญที่สุดของ Web 2.0 คือความชัดเจนเบื้องต้นในบทบาทของแพลตฟอร์มที่ต้องทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่เชื่อถือได้ระหว่างสองฝ่ายที่ไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน
ความสำคัญของ Blockchain ใน Web 3.0
อินเทอร์เน็ตที่คนใช้ในปัจจุบันเป็นเหมือนคอมพิวเตอร์แบบ stand - alone ข้อมูลทั้งหมดบนอินเทอร์เน็ตอยู่ภายใต้การจัดเก็บและการจัดการแบบรวมศูนย์ผ่าน Server ของสถาบันที่เชื่อถือได้ โดยเฉพาะ Firewall ที่มีความจำเป็นสำหรับการปกป้องข้อมูลบน Server เหล่านี้ และผู้ดูแลระบบต้องจัดการกับข้อเสียของการจัดการ Server และ Firewall
วิกฤตการเงินโลกในปีพ.ศ. 2551 แสดงให้เห็นถึงรอยแยกในเทคโนโลยีแบบ Centralized Structure จึงเป็นการเปิดโอกาสให้กับเทคโนโลยีแบบ Decentralized Structure ของ Web 3.0 ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากอำนาจและการควบคุมจากส่วนกลาง รวมถึงความไว้วางใจ ความโปร่งใส และความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน
ยกตัวอย่าง เช่น Siri ใน Apple และ Alexa ใน Amazon แสดงให้เห็นว่า Machine Learning สามารถพัฒนาบริการอินเทอร์เน็ตแบบใหม่ได้อย่างไร นอกเหนือจากสัญญาณของการแนะนำการเรียนรู้ของเครื่องและการเชื่อมต่อเครื่องผ่าน IoT (Internet of Things) แล้ว Web 3.0 จะทำงานบนโปรโตคอลแบบ Decentralized Structure ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องหาเส้นทางการบรรจบกันของ Blockchain ใน Web 3.0 ในเรื่องของความสามารถในการทำงานร่วมกันกับระบบอัตโนมัติ โดยใช้ประโยชน์จาก Smart Contract และการจัดเก็บไฟล์ข้อมูล P2P ดังนั้นจึงค่อนข้างชัดเจนว่า Blockchain จะเป็นแรงผลักดันสำคัญสำหรับอินเทอร์เน็ตรุ่นต่อไปและมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงวิธีการในการจัดเก็บข้อมูล หรือจะเรียกได้ว่า Blockchain เป็นรากฐานสำหรับ Web 3.0 อย่างแท้จริง
อีกหนึ่งตัวอย่างของ Web 3.0 ที่มีความโดดเด่น ซึ่งมีฟังก์ชันการทำงานที่ชัดเจนของ Blockchain คือ Follow องค์กรอิสระที่มีการกระจายอำนาจ ได้นำเสนอโปรโตคอลทางสังคมแบบ Decentralized ที่ทันสมัยสำหรับบริการ Web ในรุ่นต่อๆไป โปรโตคอลโซเชียลที่ใช้ Blockchain ของ Follow ตั้งใจที่จะให้การควบคุมตัวตนทางสังคมและข้อมูลของผู้ใช้งานอย่างสมบูรณ์ ซึ่งการพัฒนา Web 3.0 ยังมุ่งเน้นไปที่การสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมใหม่ ที่จะต้องเป็นไปตามแบบแผนหลักของ Blockchain ซึ่งจะจัดการความจำเป็นในการเป็นตัวกลางที่เชื่อถือได้ควบคู่ไปกับการเปิดใช้งานเครือข่าย เพื่อจดจำการโต้ตอบของผู้ใช้หรือเหตุการณ์ก่อนหน้าโดยรวม ดังนั้น Blockchain จึงเป็นกำลังสำคัญในการเปิดโอกาสทางอินเทอร์เน็ตด้วยการกระจายอำนาจที่ดีขึ้น
แม้ว่าการใช้ Web 3.0 อย่างแพร่หลายยังคงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ที่เรายังคงเห็นจุดเริ่มต้นของความเป็นไปได้ จากสกุลเงินดิจิทัลไปจนถึงอุปกรณ์อัจฉริยะและอินเทอร์เน็ตที่กำลังใช้เทคโนโลยี Blockchain เพื่อก้าวไปสู่วิวัฒนาการต่อไปของ Web แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงบางอย่างอาจดูยุ่งยากและสับสน แต่ก็ไม่ใช่ว่าการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดจะเกิดขึ้นพร้อมๆกัน เพราะการเปลี่ยนแปลงทางอินเทอร์เน็ตต้องใช้ระยะเวลาและเงินทุนในการพัฒนา ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงมักจะค่อยๆเป็นค่อยๆไปและให้เวลากับผู้ใช้งานในการเรียนรู้และปรับตัวกับเทคโนโลยีใหม่ๆต่อไป
บทความ Cryptocurrency ประจำเดือนธันวาคม 2564