SushiSwap(SUSHI) โปรโตคอลที่ถูกประเมินค่าต่ำที่สุดใน DeFi ?
SushiSwap(SUSHI)
SushiSwap ก่อตั้งขึ้นโดย 2 นักพัฒนาที่ไม่ระบุชื่อนามว่า 0xMaki และ Chef Nomi โดยเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2020 Chef Nomi ได้เผยแพร่รายละเอียดเกี่ยวกับโปรโตคอล SushiSwap จึงเป็นสิ่งดึงดูดใจที่ทำให้ 0xMaki เข้าร่วมใน SushiSwap Discord และยังมีนักพัฒนาอีก 5 คนที่ร่วมทำงานในโครงการนี้
SushiSwap เป็นโทเคน ERC-20 เปิดตัวในเดือนสิงหาคม 2020 ในช่วง DeFi Summer ซึ่งเป็นช่วงแรกของการเติบโตที่สำคัญของ DeFi ทีมนักพัฒนาสร้าง SushiSwap โดยการคัดลอกรหัสโอเพนซอร์ซ จาก Uniswap จึงเรียกได้ว่าเป็นการมุ่งเป้าไปที่การแข่งขันโดยตรงกับ Uniswap โดยการ Fork และกระตุ้นให้ผู้ให้บริการสภาพคล่องย้ายสภาพคล่องของตนไปยังแพลตฟอร์มใหม่ในกระบวนการที่เรียกว่า Vampire Attack
SushiSwap Price (Sep 1, 2021) |
$12.70 |
Total Liquidity |
$4.61 B |
Total Volume |
$105.04 B |
Market Cap |
$1.61 B |
Fully Diluted Market Cap |
$3.17 B |
All Time High (Mar 13, 2021) |
$23.38 |
All Time Low (Nov 04, 2020) |
$0.4737 |
Circulating Supply |
127,244,443 SUSHI |
Total Supply |
232,798,784 SUSHI |
Max Supply |
250,000,000 SUSHI |
SushiSwap vs. Uniswap
เนื่องจาก SushiSwap มีต้นกำเนิดมาจาก Uniswap โปรโตคอล DeFi ทั้งสองจึงมีความคล้ายคลึงกันทางสถาปัตยกรรมและสุนทรียศาสตร์ แต่มีองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของความแตกต่างที่มีอยู่ใน Uniswap แต่ไม่มีใน SushiSwap
คือ ผู้ให้บริการสภาพคล่อง (Liquidity providers: LPs) จะได้รับส่วนลดจากค่าธรรมเนียมการซื้อขายทั้งสองโปรโตคอล ใน Uniswap ยิ่งมีคนให้สภาพคล่องมากเท่าไหร่ ผู้ซื้อจะได้รับค่าธรรมเนียมจากการซื้อขายมากขึ้น ผลที่ตามมาคือผลตอบแทนของผู้ให้บริการสภาพคล่องรายย่อยก็จะลดลง หน่วยงานขนาดใหญ่ เช่น การแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิตอล กลุ่มการขุด และกองทุนร่วมลงทุน จะได้รับส่วนแบ่งจากค่าธรรมเนียมการซื้อขายเหล่านี้ แต่ในทางกลับกัน SushiSwap ได้ออกแบบการปล่อย SUSHI ในลักษณะที่ผู้เริ่มใช้โปรโตคอลในช่วงแรกจะได้รับ SUSHI จำนวน 10 เท่าในฐานะผู้ที่เข้าร่วมในโปรโตคอล โดยสามารถนำมาใช้เพื่อลดค่าธรรมเนียมการซื้อขายจากกลุ่มทั้งหมด ถึงแม้ว่าผู้ใช้รายแรก ๆ จะหยุดให้สภาพคล่องแก่กลุ่มการซื้อขายก็ตาม
การทำงานของ SushiSwap
SushiSwap สร้างขึ้นบนระบบ Automated Market Maker (AMM) ที่ใช้ Smart Contract เพื่อทำธุรกรรมให้เสร็จสมบูรณ์ โทเคนถูกจัดเตรียมโดยผู้ใช้รายอื่นผ่านกลุ่มสภาพคล่อง โดยผู้ใช้ SushiSwap จะทำการล็อคเงินเป็นคู่โทเคนใน pool ซึ่งจะทำการจัดหาเงินทุนที่จำเป็นในการแลกเปลี่ยนให้เสร็จสมบูรณ์ ผู้ใช้งานจะได้รับรางวัลเป็นเปอร์เซ็นต์เล็กน้อยของค่าธรรมเนียมที่เกิดจากการค้าขาย ซึ่งเป็นกระบวนการที่เรียกว่า Yield Farming
นอกเหนือจากการแลกเปลี่ยนโทเคนแล้ว SushiSwap ยังมีฟีเจอร์ DeFi อื่นๆ เช่น ความสามารถในการเดิมพันเหรียญ SUSHI ในเครือข่ายและรับรางวัล รวมถึงการเข้าร่วมในบริการให้ยืมและซื้อโทเคน DeFi ที่ให้ผ่านบริการ MISO
ทำไม SushiSwap จึงดีกว่า
SushiSwap เป็นหนึ่งใน Decentralized Applications (DApps) ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดบน Ethereum ด้วยเหตุผล 4 ประการ :
1. Security ความปลอดภัย - การแลกเปลี่ยน SUSHI นั้นใช้รหัสโอเพนซอร์ซจาก Uniswap ซึ่งดำเนินการมาหลายปีแล้วโดยไม่มีการแฮกหรือแสวงหาประโยชน์ใดๆเกิดขึ้น ความปลอดภัยเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้นึกถึง จนกว่าจะมีความสำคัญจริงๆ
2. Liquidity สภาพคล่อง – SushiSwap มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ที่ถูกล็อคไว้ทำให้การแลกเปลี่ยนมีคำสั่งซื้อที่มีสภาพคล่องมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดกระแสตอบรับเชิงบวกที่สภาพคล่องเพียงพอที่จะจูงใจให้เทรดเดอร์มาใช้แพลตฟอร์มได้ ซึ่งถ้าหากมีผู้ค้าจำนวนมากขึ้น ค่าธรรมเนียมในการแจกจ่าย LP ก็จะมากขึ้นเช่นกัน ผลตอบแทนที่สูงขึ้นจะกระตุ้นให้ LP มีจำนวนมากขึ้น เพื่อทำการล็อคเหรียญในการแลกเปลี่ยน SUSHI
3. Multichain Future อนาคตของมัลติเชน - ความสามารถในการปรับขนาดของ Sushiswap ยังคงเพิ่มขึ้น เนื่องจากแพลตฟอร์มนี้สร้างขึ้นบนบล็อกเชนที่หลากหลาย เช่น Binance Smart Chain, Polygon และ Fantom จึงเป็นสิ่งที่อาจจะทำให้ SUSHI ก้าวไปข้างหน้าได้ เนื่องจาก Uniswap นั้นใช้ Ethereum Blockchain เพียงอย่างเดียว และอาจประสบปัญหาด้านความสามารถในการปรับขนาดในระยะสั้น
4. Active Developers นักพัฒนามีความกระตือรือร้น – ทีมงานของ SUSHI ไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่กับการพัฒนาสิ่งใหม่ๆสำหรับปี 2021 รวมถึงการเป็นพันธมิตรกับ Anyswap, DEX (Decentralized Cryptocurrency Exchange) แบบ cross-chain, Bento Box, DApps และตู้โทเคนนิรภัย โดย DApps แรกที่เปิดตัวบน Bento Box คือ Kashi Lending DApps ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมใหม่สำหรับการให้กู้ยืมกลุ่ม ที่เพิ่มจำนวนคู่ที่มีอยู่โดยไม่กระทบต่อความปลอดภัย
ด้วยปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในการแลกเปลี่ยนแบบ Decentralized กลไกการแบ่งปันผลกำไรสำหรับผู้ถือ SUSHI จำนวนเชนและโซลูชันการปรับขนาดที่เพิ่มขึ้นและคุณสมบัติใหม่ที่ถูกเพิ่มเข้ามาในระบบนิเวศ SUSHI จึงถือได้ว่าเป็นหนึ่งในโครงการ DeFi ที่แข็งแกร่งที่สุด ซึ่งเป็นเหตุผลที่ผู้คนจำนวนมากในชุมชน DeFi เชื่อว่า SUSHI ถูกประเมินต่ำเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับการแลกเปลี่ยนแบบDecentralized ตัวอื่นๆ อย่างไรก็ตาม SUSHI ก็เป็นหนึ่งในโปรโตคอล DeFi อันดับต้นๆ ที่น่าจับตามองในเรื่องขององค์ประกอบใหม่ๆ ที่จะมีการเพิ่มเข้ามาใน BentoBox และในระบบนิเวศอื่นๆของ SUSHI
บทความ Cryptocurrency ประจำเดือนกันยายน 2564