Close
  • TH
  • |
  • EN
  • Facebook
  • Youtube
  • CSR

  • Close
  • TH
  • Facebook
  • Youtube
  • ESG
  • Home
  • Research
  • Service
  • Investor Relations
  • Trinity Academy
  • Trinity Member
  • Career
  • Contact
  • Open Account
  • Trinity
    Member
  • Download
  • Suitability

INSIGHT TO INVEST

เข้าใจลึกซึ้ง เข้าถึงทุกการลงทุน

  1. Home
  2. Knowledge
  3. Cryptocurrency
  4. Crypto Fear & Greed Index
  • Securities
  • Debenture
  • Vietnam Fund
  • Cryptocurrency
  • Gold
  • Investment Articles
  • Glossary

Crypto Fear & Greed Index

Introduction to Crypto Fear & Greed Index

Fear & Greed Index ดัชนีความกลัวและความโลภ

 
Latest Crypto Fear & Greed Index


ทำไมต้องวัดความกลัวและความโลภ?
พฤติกรรมของตลาดคริปโตนั้นผันผวนและเกี่ยวข้องกับอารมณ์เป็นอย่างมาก นักลงทุนจะอยากซื้อเมื่อตลาดปรับตัวขึ้นซึ่งส่งผลให้เกิดการ FOMO (กลัวการพลาดโอกาส) ส่งผลให้เกิดการกระทำที่เรียกว่า Panic BUY ในทางกลับกัน ก็มักจะขายเหรียญของตนทันทีเมื่อเห็นตลาดเป็นสีแดง เรียกว่า Panic SELL
ด้วยเหตุนี้ ดัชนีความกลัวและความโลภ จึงถูกคิดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์สภาพตลาดในมิติของอารมณ์ ซึ่งมีข้อสังเกตุง่ายๆ สองข้อ:

1. ความกลัวที่รุนแรง อาจเป็นสัญญาณว่านักลงทุนกังวลมากเกินไป "นั่นอาจเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าซื้อ"
2. เมื่อนักลงทุนโลภและกล้าเกินไป แสดงว่าตลาดครบองค์ประกอบสำหรับการปรับฐาน "นั่นอาจเป็นจังหวะที่ดีในการทยอยขาย"

ดังนั้น จึงวิเคราะห์ความรู้สึกในปัจจุบันของตลาด และกำหนดตัวเลขให้เป็นมาตรวัดง่ายๆ จาก 0 ถึง 100 โดย

0-24 = กลัวแบบสุดๆ
24-49 = เกิดความกลัว
50-74 = เกิดความโลภ
75-100 = โลภแบบสุดๆ

วัฏจักรของความกลัวและความโลภ

ที่มา: https://www.miraeassetmf.co.in/knowledge-center/importance-of-investor-behaviour-in-market-correction-greed-and-fear-cycle

ดัชนี Crypto Fear and Greed คำนวณมาจากอะไร?
ขึ้นชื่อว่าเป็นดัชนี แปลว่าต้องมีการกำหนดเกณฑ์ในการสร้างและสูตรคำนวณที่เป็นมาตรฐาน เช่นเดียวกัน Crypto Fear & Greed ถูกสร้างขึ้นจากการนำ Bitcoin เป็นข้อมูลอ้างอิงในการทำดัชนีซึ่งเป็นเหรียญที่ใหญ่ที่สุดและได้รับความนิยมที่สุด ทำให้ผู้คนให้ความสำคัญและสามารถใช้เครื่องมือทางด้าน Social Network ในการตรวจวัดการให้ความสนใจซึ่งคาดหวังประสิทธิภาพได้ เรามาดูกันว่าหลักเกณฑ์ในการสร้างดัชนีใช้อะไรเป็นตัวกำหนดบ้าง

Volatility 25%
ใช้ค่าความผันผวน ณ ปัจจุบัน และ Maximum Drawdown ของราคา Bitcoin เปรียบเทียบดูความสอดคล้องของความผันผวนเฉลี่ยย้อนหลัง 30 วัน และ 90 วัน เมื่อความผันผวนเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นถึงสัญญาณของตลาดที่ควรระมัดระวัง

Market Momentum/Volume 25%
คำนวณจากโมเมนตันและปริมาณการซื้อขาย เช่นเดียวกันกับ Volatility (เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 30 วันและ 90 วัน) แล้วนำค่าทั้งสองมารวมกัน โดยทั่วไปจะใช้สมมติฐานว่า ในข้อมูลแบบรายวันหากพบปริมาณการซื้อสูงในช่วงตลาดขาขึ้น เราจะมองว่าตลาดเริ่มมีความ FOMO หรือ ความโลภที่มากเกินไป

Social Media 15%
ใช้การตรวจตรา Social Media / Network ต่างๆ ว่ามีการพูดถึงคริปโตแต่ละเหรียญ เช่น การใช้ hash tag (#) หรือการส่งข้อความจากทวิตเตอร์มาวิเคราะห์ (ยังใช้ข้อมูลเฉพาะ Bitcoin) โดยคำนวณจากอัตราความรวดเร็วในการแพร่สะพัดของข้อมูลและจำนวนการโต้ตอบของผู้ใช้ ยิ่งมีการใช้งานหรือผ่านตามากก็มีแนวโน้มว่าตลาดกำลังเข้าสู่ช่วงตลาดที่มีความโลภเกิดขึ้น

Surveys 15%
แบบสำรวจความคิดเห็นบนเว็บไซต์ ซึ่งจะใช้วิธีเปิดรับความคิดเห็นจากชุมชนผู้ใช้งาน 2,000-3,000 ความเห็น แล้วนำมาคำนวณหาค่าเฉลี่ย (แต่ในปัจจุบันหยุดใช้ปัจจัยนี้ชั่วคราว)

Dominance 10%
ใช้การชี้นำจากการคำนวณสัดส่วนของตลาดคริปโตเทียบกับ Bitcoin พิจารณาจากปริมาณซื้อขาย Bitcoin โดยมองว่าเมื่อคนส่วนใหญ่ซื้อ Bitcoin นั่นหมายถึงเกิดความกังวลว่าเหรียญเล็กๆ Alt-coin มีการเก็งกำไรมากเกินไป จึงต้องการหาที่หลบภัย (มองว่า Bitcoin มีความปลอดภัยกว่า) ในทางตรงกันข้าม เมื่อนักลงทุนขาย Bitcoin และเข้าซื้อ Alt-coin เพราะคาดหวังกำไรที่มากกว่า นั่นหมายถึงสัญญาณของตลาดที่เริ่มมีความโลภมากขึ้น ทั้งนี้ อาจยังมีข้อโต้แย้งเรื่องการซื้อหรือขาย alt-coin ซึ่งแน่นอนว่าไม่สามารถสรุปแบบนี้กับทุกๆเหรียญได้ หรือการเข้าซื้อเหรียญ altcoin ที่ทำให้สัดส่วนของตลาดคริปโตเปลี่ยนแปลงอาจหมายถึงขาขึ้นอย่างแท้จริงของทั้งตลาดก็ได้

Trends 10%
Trends ในที่นี้ไม่ใช่แนวโน้มเรื่องของราคา แต่เป็น Google Trends ที่ใช้จำนวนครั้งของการค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ Bitcoin มาวิเคราะห์ หากคำค้นหาเยอะนั่นหมายถึงนักลงทุนให้ความสนใจกับตลาดนี้มากขึ้น นอกจากนี้ คำที่ใช้ค้นหาก็สามารถบ่งบอกถึงความกังวลได้ด้วยเช่นกัน

ตัวอย่าง เปรียบเทียบความเคลื่อนไหวของราคา BTC กับ Fear & Greed Index


จากภาพเป็นการกำหนดจุดซื้อที่ค่าดัชนี ประมาณ 25 และขายเมื่อค่าดัชนีแตะที่ระดับ 75

หลังจากได้รู้จักกับดัชนีชี้วัดความกล้าความกลัวกันแล้วว่ามีวิธีการดูอย่างไร และประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
นักลงทุนก็จะสามารถเข้าใจและติดตามในรายละเอียดเพื่อนำมาวิเคราะห์ด้วยตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม การใช้เพียง Fear & Greed Index เพียงอย่างเดียว อาจไม่สามารถให้ผลลัพธ์ที่ดีได้
นักลงทุนควรศึกษาเครื่องมืออื่นๆประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม โดยเฉพาะตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีความผันผวนสูง

Trinity Academy

ห้องเรียนการลงทุนอย่างมืออาชีพ

ลงทุนหุ้นจีนผ่าน DRx ง่ายนิดเดียว!

ความรู้การลงทุนหุ้น อนุพันธ์ และสินทรัพย์อื่นๆ

บทความการลงทุน

สอบถามข้อมูลทั่วไป

0-2088-9100

สอบถามข้อมูลซื้อขายหลักทรัพย์

0-2343-9555

e-mail

trinity@trinitythai.com

Shortcut Menu

Home

Research

  • Lastest Report
  • Technical Analysis
  • Fundamental Analysis
  • Stock Analysis
  • Sector Analysis
  • Trinity Quick Win

Announce

  • Announce
  • GeneralAnnounce
  • Information about Internet trading
  • Stock Calendar

Trinity Academy

  • เจาะเทรนด์ลงทุน
  • กลยุทธ์การลงทุน
  • ความรู้การลงทุน
  • กลยุทธ์ทางเทคนิค
  • Seminar
  • Crypto Monthly Report
  • บทความการลงทุน

Trinity Member

Contact

  • Cookies Policy
  • Privacy Policy
  • Home
  • Ask a Question
  • Contact Us
  • FAQs

Copyright 2025 All right reserved. Trinity Securities Group.

บริษัทฯ มีการใช้งานคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของคุณกรุณากด ยอมรับ เพื่อยินยอมให้บริษัทฯ ใช้คุกกี้ คุณสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้