ผลิตภัณฑ์และบริการบริษัท
การซื้อขายหลักทรัพย์และอนุพันธ์
สนใจเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ อนุพันธ์ กับทรีนีตี้ ต้องทำอย่างไร?
- สำหรับลูกค้าใหม่
เข้าลงทะเบียนแจ้งขอเปิดบัญชี ที่ www.trinitythai.com > เปิดบัญชี > เลือกประเภทบัญชี > กรอกข้อมูล > เจ้าหน้าที่ทำการติดต่อกลับท่าน เพื่อแนะนำและจัดส่งเอกสารเปิดบัญชี - สำหรับลูกค้าเก่า
i.) แจ้งความประสงค์ต่อเจ้าหน้าที่การตลาดที่ดูแลท่าน
ii.) เข้าลงทะเบียนแจ้งขอเปิดบัญชี ที่ www.trinitythai.com > เปิดบัญชี > เลือกประเภทบัญชี > กรอกข้อมูล
จะทำการซื้อขายต้องวางหลักประกันก่อนไหม และเสียค่าธรรมเนียม เท่าไร?
อัตราค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์และอนุพันธ์
บริษัทฯ จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และอนุพันธ์ในอัตราดังต่อไปนี้
มูลค่าการซื้อขายต่อวัน(บาท) | Traditional(%) | Internet(%) | |
Cash Account | Cash Balance / Credit Balance | ||
X ≤ 5 ล้าน | ≥ 0.25 - 1 | ≥ 0.20 - 1 | ≥ 0.15 - 1 |
5 ล้าน < X ≤ 10 ล้าน | ≥ 0.22 - 1 | ≥ 0.18 - 1 | ≥ 0.13 - 1 |
10 ล้าน < X ≤ 20 ล้าน | ≥ 0.18 - 1 | ≥ 0.15 - 1 | ≥ 0.11 - 1 |
X > 20 ล้าน | ≥ 0.15 - 1 | ≥ 0.12 - 1 | ≥ 0.10 - 1 |
ในการคิดค่าธรรมเนียมในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์แบบขั้นบันได บริษัทฯ จะคิดตามประเภทบัญชีของลูกค้าแต่ละรายโดยยึดถือเลขที่บัญชีลูกค้า (Account Number) ที่ลูกค้ามีบัญชีกับบริษัทฯ ในปัจจุบัน โดยได้แบ่งบัญชีออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
- บัญชีลูกค้าประเภทเงินสด
- บัญชีลูกค้าประเภทแคชบาลานซ์
- บัญชีลูกค้าประเภทเครดิตบาลานซ์
- บัญชีลูกค้าประเภทเครดิตบาลานซ์โดย บริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จำกัด (TSFC)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2554 เป็นต้นไป บริษัทฯ จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ อันได้แก่ ค่าธรรมเนียมตลาดหลักทรัพย์ (Trading Fee) ค่าธรรมเนียมการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ (Clearing Fee) และค่าธรรมเนียมการกำกับดูแล (Regulatory Fee) รวมเป็นอัตราร้อยละ 0.0078 เพิ่มจากอัตราค่าธรรมเนียมซื้อขายหลักทรัพย์แบบขั้นบันได โดยคำนวณจากมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ต่อวันของท่าน
หมายเหตุ :
- อัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือตามที่บริษัทประกาศกำหนด
- กรณีลูกค้าสถาบันและนิติบุคคลจะต้องมีการคำนวณรวมภาษีหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งอัตราภาษีจะขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ
- อัตราค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ 50 บาทต่อวัน
ค่าธรรมเนียมและการวางหลักประกันของอนุพันธ์
อัตราค่าธรรมเนียมสำหรับลูกค้าทั่วไป (ที่ไม่ใช่สถาบัน)
หมายเหตุ :
- ค่าธรรมเนียมของลูกค้ารายย่อยที่เป็นบุคคลธรรมดา ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ค่าธรรมเนียมของลูกค้ารายย่อยที่เป็นนิติบุคคล ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- รายชื่อหลักทรัพย์ในแต่ละกลุ่มราคาจะมีการอ้างอิงตามประกาศของบริษัทตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน) และบริษัทสำนักหักบัญชี (ประเทศไทย) จำกัด
- อัตราดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2560 เป็นต้นไป จนกว่าจะประกาศยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง
อัตราค่าธรรมเนียมสำหรับลูกค้าสถาบัน
หมายเหตุ :
- ค่าธรรมเนียมของลูกค้าสถาบัน ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- ค่าธรรมเนียมของลูกค้ารายย่อยที่เป็นนิติบุคคล ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- รายชื่อหลักทรัพย์ในแต่ละกลุ่มราคาจะมีการอ้างอิงตามประกาศของบริษัทตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัทสำนักหักบัญชี (ประเทศไทย) จำกัด
- อัตราดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2560 เป็นต้นไป จนกว่าจะประกาศยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง
อัตราหลักประกันใหม่ที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 เป็นต้นไป (คลิก เพื่อดูรายละเอียด)
อัตราหลักประกันเดิม ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2560 ถึง 20 พฤศจิกายน 2560(คลิก เพื่อดูรายละเอียด)
หมายเหตุ :
- ประกาศตาม Link ด้านบนใน Link 1 จะเป็นอัตราหลักประกันใหม่ที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 เป็นต้นไป และใน Link 2 จะเป็นอัตราหลักประกันเดิม ที่มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2560 โดยจะยกเลิกไปใช้ประกาศฉบับใหม่ ที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 แทน
อยู่ต่างจังหวัดต้องการโอนเงินเข้าบัญชีทรีนีตี้ จะต้องโอนเข้าบัญชีอะไร?
ดูรายละเอียดเลขที่บัญชีธนาคารต่างๆ ได้ที่หน้าเว็บไซด์ หัวข้อ การฝากหลักประกันค่ะ
การฝากหลักประกันกับบริษัทจำเป็นต้องเป็นเงินสดอย่างเดียว หรือไม่?
ไม่จำเป็น จะวางโดยโอนเงินสด หรือ มูลค่าหุ้นในพอร์ต ที่ปลอดภาระหนี้ ก็ได้
เงินวางฝากหลักประกันที่ฝากไว้กับบริษัทสามารถถอนออกได้มั้ย และมีดอกเบี้ยให้หรือเปล่า?
สามารถทำได้ โดยแจ้งความประสงค์ต่อเจ้าหน้าที่การตลาดที่ดูแลท่าน และได้รับดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยที่ทางบริษัท ได้ประกาศไว้บนเว็บบริษัท
เปิดบัญชีประเภทเลือกวิธีการชำระค่าซื้อขาย โดยการหักบัญชีเงินฝากธนาคารอัตโนมัติ (ATS) จะใช้บริการได้เลย หรือเปล่า?
เนื่องจากทางบริษัทต้องดำเนินการขออนุมัติจากธนาคารเจ้าของบัญชี ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4สัปดาห์ (ขึ้นอยู่กับระยะ เวลาดำเนินการของแต่ละธนาคาร) ดังนั้นหากต้องการซื้อขายระหว่างนี้ ท่านสามารถทำได้โดยการฝากเงินเข้าบัญชีบริษัท
ซื้อขายกับเจ้าหน้าที่การตลาดแต่อยากดูราคาหุ้นและอนุพันธ์ แบบ Real time ด้วยจะทำอย่างไรดี?
สามารถดูราคาหน้าจอ Real time ใน E-finance ผ่านบริการ Trinity Member หรือ หากต้องการซื้อขายทางอินเทอร์เน็ตด้วย แนะนำเปิดบัญชีซื้อขายทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มค่ะ
ต้องการเปลี่ยนแปลงที่อยู่การจัดส่งเอกสารใหม่ จะต้องทำอย่างไร?
แจ้งเจ้าหน้าที่การตลาดที่ดูแล เพื่อความรวดเร็ว ท่านสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์ม “ใบคำขอแก้ไขข้อมูลผู้ถือหลักทรัพย์” บน หน้าเว็ปไซด์ แล้วจัดส่งให้เจ้าหน้าที่การตลาด
บทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสาร
ค้นหาข้อมูลบทวิเคราะห์ของทรีนีตี้ได้ที่ไหน?
บริษัทได้นำเสนอข้อมูลไว้บนหน้าเว็บไซด์ TrinityThai.com ซึ่งยังสามารถค้นหาข้อมูลย้อนหลังและเลือกประเภท การค้นหาได้ หรือเลือกฟัง Analyst on air
SBL (บริการยืม – ให้ยืมธุรกรรมหลักทรัพย์)
SBL คือ อะไร?
เป็นธุรกรรมที่ทรีนีตี้ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขอยืมหุ้นจากผู้ให้ยืม (Lender) เพื่อนำหลักทรัพย์นั้นให้กับผู้ขอยืม (Borrower) ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ขอยืม สามารถนำไปขายชอร์ต (Short Selling) เพื่อทำกำไรในตลาดขาลงได้
ลูกค้าได้ประโยชน์อะไรจากการทำ SBL ?
Borrower (Underlying) | Lender |
เพิ่มโอกาสในการลงทุนให้แก่ลูกค้า | ได้รับค่าธรรมเนียมการให้ยืม |
เป็นการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนของลูกค้า | ผู้ให้ยืมคงได้รับเงินปันผล และสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน |
ใช้เป็นกลยุทธ์ซื้อขายเพื่อป้องกันความเสี่ยงได้ | สามารถเรียกคืนหุ้นที่ให้ยืมและขายหุ้นได้เสมอ |
หากจะเปิดใช้บริการ SBL ต้องทำอย่างไรบ้าง?
สำหรับลูกค้าปัจจุบัน
- แจ้งเจ้าหน้าที่การตลาดที่ดูแลท่าน เพื่อสมัครรับบริการ SBL
- ลงนามสัญญา SBL พร้อมรับคำแนะนำ และสิทธิประโยชน์จากเจ้าหน้าที่การตลาด
- รอการอนุมัติการบริการ SBL (สอบถามผ่านเจ้าหน้าที่การตลาดที่ดูแล)
สำหรับลูกค้าใหม่
- แจ้งเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทบัญชีเงินสดและบริการ SBL
- ลงนามเอกสารการเปิดบัญชี และบริการ SBL พร้อมรับคำแนะนำ และสิทธิประโยชน์จากเจ้าหน้าที่การตลาด
- รอการอนุมัติการเปิดบัญชี และบริการ SBL
ขั้นที่1 ขั้นที่2 ขั้นที่3
ส่งเอกสาร ------------> ลงนามสัญญาเปิดบริการ ------------> รอแจ้งผลการอนุมัติ
จุดเด่นบริการ SBL ของทรีนีตี้คืออะไร?
- เป็นผู้ให้บริการบนบัญชีเงินสด (Cash) แห่งแรกทำให้ลูกค้าสามารถยืมและขายบนบัญชีเงินสดได้เลย
- เชื่อมต่อกับระบบซื้อขายหลัก (FIS) ทำให้เจ้าหน้าที่การตลาดสามารถทำรายการได้ทันที
- เห็นสถานะของหุ้นตลอดเวลา
- มีระบบการจัดสรรการยืม / ให้ยืมที่โปร่งใสและมีโอกาสเท่าเทียมกันด้วยการสุ่ม (Random)
อัตราผลตอบแทนที่ได้จากการให้ยืมเป็นอย่างไร?
อัตราผลตอบแทนที่ผู้ให้ยืมได้รับคือ 2 %ต่อปี (อัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประกาศ ของทางบริษัทฯ)
ค่าธรรมเนียมการยืมเป็นอย่างไร ?
อัตราค่าธรรมเนียมการยืมอยูที่ 5 % ต่อปี (อัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประกาศของบริษัท
การยืมหุ้นมีกำหนดระยะเวลาหรือไม่ ?
ไม่มีระยะเวลากำหนด (เมื่อทวงถาม) จนกว่าผู้ยืมจะคืนหุ้น (Return) หรือผู้ให้ยืม (Lender) จะเรียกคืนหุ้น (Recall)
หุ้นที่ถูกยืมไปแล้ว มีปันผล ผู้ให้ยืมจะได้รับเงินปันผลหรือไม่ และหากไม่ได้แจ้งคืน จะเสียประโยชน์อย่างไร ?
กรณีผู้ให้ยืม (Lender) ไม่ได้ขอคืนหุ้นที่ถูกยืมไป และผู้ยืมไม่ได้คืนหุ้นก่อนวันขึ้น X ผู้ยืมมีหน้าที่จ่ายเงินปันผลเต็มจำนวนก่อน หักภาษี ณ ที่จ่ายให้บริษัทฯ และผู้ให้ยืมจะได้รับเงินปันผลจากบริษัท แต่ไม่สามารถนำไปเครดิตภาษีได้
สามารถทำธุรกรรม SBL ผ่านบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ทางอินเทอร์เน็ตได้หรือไม่ ?
ปัจจุบันทางบริษัทยังไม่เปิดใช้บริการผ่านทางช่องทางอินเทอร์เน็ต
Trinity Member (สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก)
Trinity Member คืออะไร?
คือบริการเสริมที่บริษัทให้สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าของทรีนีตี้เท่านั้น ซึ่งสามารถดูข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลพอร์ตการลงทุน รายการ สั่งซื้อขายย้อนหลัง ข้อมูลข่าวสาร/กราฟ ผ่าน Aspen รวมถึงสิทธิประโยชน์ที่มีขึ้นในอนาคต
ใน Trinity Member สามารถดูราคาหุ้น อนุพันธ์ แบบ Real time ได้หรือเปล่า?
ได้ โดยสามารถดู ผ่าน Aspen สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ยังไม่เคยใช้โปรแกรมนี้ จะต้องทำการลงโปรแกรมก่อน หรือ ดู ข้อมูลผ่านหัวข้อ “ดูราคาเรียลไทม์” ซึ่งสามารถเลือกดูราคาได้ทั้ง หุ้น ฟิวเจอร์ส และออปชั่น แต่ได้อย่างละตัวค่ะ
จะสามารถดูข้อมูลที่ซื้อขายระหว่างวันใน Trinity Member ได้หรือไม่?
เนื่องจากบริการ Trinity Member เป็นบริการ Support ด้านข้อมูล ซึ่งจะมีการ Update ข้อมูลทุกสิ้นวัน จึงไม่สามารถดูข้อมูล ระหว่างวันได้ หากต้องการเช็คข้อมูลดังกล่าวจะดูได้ในวันรุ่งขึ้น
ลืม Password หรือ Password ถูกล็อค ของ Trinity Member จะทำอย่างไร?
ติดต่อส่วนลูกค้าสัมพันธ์ เบอร์โทรศัพท์ 02-3439555 เพื่อตรวจสอบข้อมูลและ Reset หรือ ปลดล็อค Password ให้
การลงทุนประเภทอื่นๆ
ทรีนีตี้มีให้บริการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนด้านอื่นๆนอกจากหุ้นและอนุพันธ์หรือไม่?
มีค่ะ ทางทรีนีตี้มีทีมงานที่ปรึกษาด้านการเงินเต็มรูปแบบ และด้านวาณิชธนกิจ ที่มีประสบการณ์สูง ให้แก่ลูกค้า ทั้งนิติบุคคล รัฐวิสาหกิจ และบุคคลธรรมดา นอกจากนี้ยังมีทีมที่ปรึกษาการลงทุนในตราสารหนี้และกองทุนรวมให้แก่ นักลงทุน โดยให้คำแนะนำในการเลือกลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อได้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า ท่านสามารถสอบถามข้อมูลการลงทุนได้ที่
- ฝ่ายวาณิชธนกิจ หมายเลข 0-2801-9100 ต่อ 9511
- ฝ่ายตราสารหนี้ หมายเลข 0-2801-9100 ต่อ 9548
- ฝ่ายธนบดีธนกิจ หมายเลข 0-2801-9100 ต่อ 9533
ตราสารหนี้คืออะไร?
ตราสารหนี้ คือ เอกสารที่ใช้ในการกู้ยืมเงิน ซึ่งผู้กู้ออกให้แก่ผู้ให้กู้เพื่อเป็นหลักฐาน และสัญญาว่าจะชำระเงินต้น พร้อมผลตอบแทนในการรูปแบบดอกเบี้ย เมื่อครบกำหนด หรือทยอยจ่ายดอกเบี้ยหรือเงินต้น + ดอกเบี้ยเป็นงวดๆ
การลงทุนในตราสารหนี้ ลงทุนอะไรได้บ้าง?
- ตั๋วเงิน
- ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) , ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissary Note) - ตั๋วเงินคลัง (Treasury Bill)
- พันธบัตร (Bond)
- พันธบัตรรัฐบาล (Government Bond)
- พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ (State Owned Enterprice Bond)
- พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (CB.BOT)
- พันธบัตรกองทุนฟื้นฟูฯ (FIDF Bond)
- พันธบัตรออมทรัพย์ (Saving Bond) - หุ้นกู้ (Debenture)
- หุ้นกู้ระยะสั้น (Short Term Debenture)
- หุ้นกู้ระยะยาว
การลงทุนในตราสารหนี้ดีอย่างไร?
ผู้ลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝาก และสามารถทำกำไรได้จากการซื้อขายตราสารหนี้
มีเกณฑ์อะไรที่ใช้พิจารณาก่อนจะลงทุนในตราสารหนี้บ้าง?
ปัจจัยสำคัญที่ผู้ลงทุนควรพิจารณาในการตัดสินใจลงทุน ได้แก่
- อัตราผลตอบแทน (Yield) /ราคา (Price)
- อัตราดอกเบี้ย (Coupon)
- ประเภทของตราสาร (Type of Bond)
- อันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating)
- ระยะเวลาการถือครองตราสารหนี้ (Holding Period)
- ผู้ออกตราสารหนี้ (Issuer)
- สภาพคล่องในการซื้อขาย
- แนวโน้มอัตราดอกเบี้ย
การซื้อกองทุนดีอย่างไร?
การลงทุนในกองทุนรวมเป็นช่องทางการลงทุนสำหรับนักลงทุนรายย่อย ที่สามารถกระจายความเสี่ยงของการลงทุน แม้ว่าจะต่ำกว่า 10,000 บาท และหากลงทุนผ่าน บลจ. มีโอกาศได้ผลตอบแทนทีดีกว่า เนื่องจากมีเครื่องมือที่ใช้ วิเคราะห์การลงทุนและได้รับข่าวสารอย่างต่อเนื่อง มีสภาพคล่องสูง (เฉพาะกองทุนเปิด) ทั้งนี้ยังได้รับสิทธิประโยชน์ ทางภาษี เพราะกำไรจากการลงทุนได้รับยกเว้นภาษี
ระหว่าง RMF-LTF แตกต่างกันตรงไหน?
- RMF
ลงทุนต่อเนื่องถึงอายุ 55ปี ห้ามหยุดลงทุนเกิน 1ปีติดต่อกัน (ปีเว้นปี)ถึอครบ 5 ปี นับจากวันที่ซื้อ และไถ่ถอนได้ เมื่ออายุ 55 ปีบริบูรณ์คืนภาษีย้อนหลัง 5 ปี หากถอนก่อน 55 ปี - LTF
ไม่จำเป็นต้องซื้อทุกปี (ซื้อได้ถึงปี 2559)ถือไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน ไถ่ถอน FIFO คืนภาษีย้อนหลังก้อนที่ถือไม่ครบ 5 ปีปฏิทินและ Capital Gain นำมาคำนวนเสียภาษี
จะสามารถลงทุนได้เท่าไรใน RMF และ LTF
RMF | LTF | |
การลงทุนขั้นต่ำต่อปี | 3% ของรายได้ หรือ 5,000 บาท แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า | ไม่ระบุ |
การลงทุนสูงสุดต่อปี | 15% ของรายได้และไม่เกิน 500,000 บาทเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือ กบข. | 15 % ของรายได้และไม่เกิน 500,000 บาท |